ไปที่หน้าเวบ SYSTEM-OF-BIO

๐ พลังงานทดแทน

         ๐ พลังงานทดแทน

         ๐ คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

         ๐ พลังงานทดแทนแต่ละชนิด

        ๐ พลังงานแสงอาทิตย์

        ๐ พลังงานลม

        ๐ พลังงานน้ำ

        ๐ พลังงานคลื่น

        ๐ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง

        ๐ พลังงานชีวมวล

        ๐ พลังงานความร้อนใต้พิภพ

        ๐ เซลล์เชื้อเพลิง

        ๐ พลังงานนิวเคลียร์

 

(กดเลือกหัวข้อที่ต้องการศึกษา)

 

 

พลังงานแสงอาทิตย์

     ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งให้ความร้อนและแสง ประเทศไทยตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร ได้รับพลังงานค่อนข้างสูง การใประโยน์จากดวงอาทิตย์ทำได้หลายรูปแบบ เช่นความร้อนโดยตรงและใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

 

เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)

• เซลล์แสงอาทิตย์ หรือโซลาร์ เซลล์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง
• เซลล์แสงอาทิตย์ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน
• เมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการถ่ายโอนพลังงานให้อิเล็กตรอนบนเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะเกิดกระแสไฟฟ้า
• ไฟฟ้าที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง

 

 

ภาพ การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์

 

 

 

 

 

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับไฟฟ้ากระแสตรง และกระแสสลับ

ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current) 

     ไฟฟ้ากระแสตรง คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียวจากขั้วลบของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า แล้วไหลผ่านอุปกรณ์ไฟฟ้า แล้วกลับเข้าไปยังขั้วบวกของแหล่งกำเนิดไฟฟ้าอีกครั้ง ภาพด้านล่างเป็นภาพลักษณะรูปคลื่นไฟฟ้าของไฟฟ้ากระแสตรง

 

ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current)

•ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้าไปในทางกลับกัน คือกระแสไฟจะไม่มีขั้วไฟฟ้าว่าเป็นขั้วบวกหรือขั้วลบ และจะมีทิศทางการไหลที่กลับไปกลับมาอยู่ตลอดเวลา โดยอัตราการเปลี่ยนทิศทางนี้เราเรียกว่าความถี่ของไฟกระแสสลับ มีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ท(Hz) ซึ่งก็คือจำนวนรอบคลื่นต่อ หนึ่งวินาที (ไฟบ้าน ในประเทศไทยใช้ความถี่ 50Hz)

 

ชนิดของเซลล์แสงอาทิตย์

     1.โมโนคริสตัลไลน์ ทำมาจากธาตุซิลิคอนตั้งต้นที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก พ่วงด้วยคุณสมบัติด้านประสิทธิภาพที่มีความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 17 – 20% โดยเฉลี่ย ซึ่งถือว่าสูงมาก แถมใช้พื้นที่การติดตั้งน้อย อายุการใช้โดยเฉลี่ยยาวนานประมาณ 25 ปี ราคาแพง

 

     2. โพลีคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดี รองลงมาจาก ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้สูงถึง 15-19% โดยเฉลี่ย มีคุณสมบัติทนทานในสภาพอากาศร้อนจัดได้ดี นิยมมากในพื้นที่เขตร้อน เช่น ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน ราคาไม่แพงมาก คุ้มค่าเหมาะสมกับการใช้งาน อายุการใช้งานประมาณ 20 ปี

 

     3. แบบฟิล์มบางหรือ อะมอรัส ทำมาจากสารอะมอฟัส (Amorphous silicon) และสารชนิดอื่นๆ โดยนำมาฉาบเป็นแผ่นฟิล์ม ผลิตไฟฟ้าได้น้อยที่สุด ราคาถูก  อายุการใช้งานสั้นกว่าประเภทอื่นๆ ความสามารถในการผลิตพลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าแผงโซลาร์ 2 ชนิดข้างต้น แผงโซลาร์เซลล์ อะมอร์ฟัส เหมาะ สำหรับการใช้งานไฟฟ้าในปริมาณไม่สูงนัก โดยนิยมนำมาใช้ กับ  เครื่องคิดเลข นาฬิกา อายุการใช้งานก็ไม่น้อย เพราะใช้ได้นานถึง 5 ปี

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

•ความเข้มของแสงอาทิตย์
•ฝุ่นและความสกปรกของแผง จะบดบังแสงอาทิตย์
•การต่อแผงที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้สูญเสียไฟฟ้าในสายไฟ ทำให้ผลิตไฟได้ลดลง
•การเปลี่ยนกระแสไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับทำให้สูญเสียพลังงาน
•อุณหภูมิ ยิ่งของแผงสูงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าลดลง

 

 

 

รวบรวมเรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา

เอกสารอ้างอิง

หนังสือรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม2 ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางปี 2551